วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตลาดน้ำอัมพวา



                                                บทที่ 1 

                                                บทนำ


1.1  ที่มาและความสำคัญของปัญหา
          การ Drawing เป็นหลักพื้นฐานของการออกแบบทุกชนิด โดยที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้องบันทึกความรู้สึก จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ออกมาในลักษณะของผลงาน ที่เป็นรูปนามธรรมอย่างชัดเจน
          ในปัจจุบัน ตลาดน้ำอัมพวา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุมทรสงคราม โดยมีบรรยากาศที่ร่มรื่นไปด้วยบ้านสวย และบ้านริมน้ำชื่นชมกันโดยเราสามารถหลบร้อนลงเรือล่องคลองชมสวน และ สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านรอบฝั่งแม่น้ำลำคลอง พร้อมชมสวนผลไม้ต่างๆ และสามารถซื้อจากแหล่งเพราะปลูกกลับบ้านก็ได้ เนื่องด้วยตลาดอัมพวา เป็นตลาดน้ำที่สำคัญจึงมีการจัดทำของที่ระลึกขึ้นไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายตลาดน้ำ โมเดลเรื่อ ฯลฯ แต่เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ จึงได้มีการจัดทำ post card ตลาดน้ำแบบ Drawing ขึ้นมา
          โปสการ์ด Drawing เป็นการเพิ่มช่องทางเลือกสำหรับผู้ที่ชอบภาพแนว Drawing และเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของตลาดน้ำอัมพวาให้เป็นที่รู้จักอย่างชัดเจน
          ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสุมทรสงครามผู้ออกแบบจึงต้องการเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยจัดทำโปสการ์ด แบบ Drawing เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้แก่ผู้บริโภคที่สนใจในภาพ แบบ Drawing โดยใช้หลักของการจัดองค์ประกอบ การใช้แสงเงา และการใช้เส้นให้เกิดเป็นภาพเพื่อตอบสนองให้แก่ผู้บริโภค


ชื่อทฤษฎี/หลักการ  การใช้เทคนิควาดเส้นในการออกแบบภาพประกอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ
          - การวาดเขียน Drawing พื้นฐานเบื้องต้นของศิลปกรรม ตลอดจนถึงการออกแบบทุกชนิด ก็คือ การวาดเขียน หรือวาดเส้น ซึ่งศิลปะผู้สร้างจะต้องบันทึกความรู้สึก จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ออกมาในลักษณะของ งานวาดเส้น เป็นรูปธรรมชัดเจน   วัสดุสำหรับบันทึกเรื่องราวเหล่านี้มักไม่จำกัดวัสดุอย่างใด อย่างหนึ่ง อย่างชัดเจน
        -  นำไปทำเป็นโปสกาดส่งความรู้สึก และ ของภาพวาดจิตรกรรม ของที่ระลึก
        -  ส่วน การวาดภาพทิวทัศน์ในเชิงศิลปะ จิตรกรอาจประยุกต์หลักทัศนียภาพวิทยาไปบ้างตามความเหมาะสม โดยไม่ได้ยึดหลักอย่างเคร่งครัดเพราะการวาดภาพในความเป็นจริงจะร่างภาพด้วย มืออย่างอิสระ
       -  เป็นทางเลือกให้กับผู้เลือกที่ชอบทิวทัศน์ที่เป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆในธรรมชาติ

1.2 วัตถุประสงค์
          1.2.1   เพื่อการศึกษาถึงเทคนิคและทฤษฎีในการวาดเส้น Drawing
          1.2.2   เพื่อการศึกษาข้อมูลแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำ (อัมพวา)
          1.2.3   เพื่อออกแบบ โปสการ์ด ตลาดน้ำ อัมพวา แบบ Drawing

1.3.  ขอบเขตของการศึกษา
          1.  ศึกษาหลักการ Drawing เรื่องค่าแสงเงา การเขียนภาพทิวทัศน์และทัศนียภาพและการจัดองค์ประกอบของภาพ
          2.  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดน้ำ อัมพวา
          3.  ศึกษาหลักการออกแบบโปสการ์ดที่ระลึก ประเภท Drawing

1.4.  วิธีการดำเนินงาน
         
          ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
            1. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้องที่1 ประเด็นการศึกษาการวาดเขียนภาพประกอบเทคนิค Drawing
                    1.1.  ศึกษาเอกสาร  หนังสือวิชาการ  สื่อออนไลน์  เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง  การวาดเขียนภาพประกอบเทคนิค Drawing
                   1.2.   สรุป  สังเคราะห์ วิเคราะห์ให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของ การวาดเขียนภาพประกอบเทคนิค Drawing
          2.  เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้องที่ 2  เพื่อการศึกษาข้อมูลแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำ (อัมพวา)
                    2,1.  ศึกษาเอกสาร  หนังสือวิชาการ สื่อออนไลน์  เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง เพื่อการศึกษาข้อมูลแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำ (อัมพวา)
                    2.3.  สรุป  สังเคราะห์ วิเคราะห์ให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของ เพื่อการศึกษาข้อมูลแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำ (อัมพวา)
          3.  เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้องที่ 3 เพื่อออกแบบ โปสการ์ด ตลาดน้ำ อัมพวา แบบ Drawing
                    3.1.  ศึกษาเอกสาร  หนังสือวิชาการ สื่อออนไลน์  เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง เพื่อออกแบบ โปสการ์ด ตลาดน้ำ อัมพวา แบบ Drawing
                    3.2.  สรุป  สังเคราะห์ วิเคราะห์ให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของ เพื่อออกแบบ โปสการ์ด ตลาดน้ำ อัมพวา แบบ Drawing

1.5.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          1.  ได้รับความรู้เกี่ยวกับการวาดเขียน Drawing
          2.  เพื่อการศึกษาถึงเทคนิคและทฤษฎีในการวาดเขียน Drawing
          3.  เพื่อการศึกษาข้อมูลแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำ (อัมพวา)
          4.  เพื่อออกแบบ โปสการ์ด ตลาดน้ำ อัมพวา แบบ Drawing
          5.  ได้เผยแพร่ผลงานสู่สังคม

         
                                                   บทที่ 2 

                                        วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


ในการจัดทำโปสการ์ดตลาดน้ำอัมพวานี้ได้มีการศึกษาข้อมูลและหลักเทคนิคทฤษฎีเรื่องที่ว่าด้วยการวาดเขียน เป็นวิธีการถ่ายทอดธรรมชาติหรือวัตถุตรงหน้าให้เป็นผลงานศิลปะ  หรือถจินตนาการของผู้วาดให้เป็นจริง อาจเป็นภาพร่างก่อนนำไปขยายให้มีสีสันสวยงาม

1. การวาดเส้น
1.1 ความหมาย ของการวาดเส้น Drawing  เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะการ วาดเส้นทำให้เข้าใจเรื่องของ รูปทรง โครงสร้าง สัดส่วน ระยะ แสงเงา ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างงานศิลปะโดยการสร้างภาพสองมิติและสามมิติ







 




                                             ภาพที่ 1 การวาดเส้น Drawign                
                                          ที่มา: http://galocalderon.com/drawingartwork.php
                                                    สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556

 



                                                
                                                ภาพที่ 2 การวาดเส้น Drawign
                                              ที่มา: http://www.lathropdouglassarchitect.com/lfp.htm
                      สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556





1.2  บทบาทความสำคัญ 
 การวาดเส้น Drawing เป็นวิธีการสร้างภาพเพื่อสื่อทางการมองเห็นรูปร่างของวัตถุ สิ่งของ บรรยากาศและการเกิดมิติของภาพในขั้นเริ่มแรกๆ คือปัจจัยขั้นพื้น งเราต้องการแสดงออกหรือนำเสนอ ในบางอย่างที่เป็นรูปแบบของเราออกมาหรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์ให้ผู้อื่นรับรู้จากภาพของผู้วาด และรูปภาพธรรมชาติ ฯลฯ


1.3  ขั้นตอนและวิธีการวาดเส้น
1.3.1 รูปทรง ขนาด ระยะ คือ รูปทรงและขนาดของภาพให้ดีหากเจาจะย่อหรือขยายก็จะได้สัดส่วนที่แน่นนอน โดยสังเกตจากหุ่นที่ใกล้เคียงก็ได้เช่น ดูว่าที่อยู่ใกล้กับมะเขือเทศระยะห่างเท่าใดมะเขือเขียนแล้วจะโตกว่าขวดหรือเปล่า แต่นั้นน้ำหนักมากไปจนชัดกว่ามะเขือเทศซึ่งอยู่ข้างหน้าเสียอีก เป็นต้น ( แสง-เงา) 2539 : 9
1.3.2  ผิว คือ หุ่นที่เห็นมีลักษณะอย่างไร หุ่นด้าน หนุ่มมัน หรือ หุ่นใส เพื่อจะได้กำหนดแสงที่ตกกระทบได้ชัดเจน
หุ่นด้าน เช่น ละมุด ฝรั่ง กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ หุ่นจำพวกนี้ แสงจะต้องนุ่มนวล จากแสงค่อยๆ อ่อไปจนถึงแก่จัด
หุ่นผิวมัน เช่น ส้มเซ้งสด มะเขือเทศ แตงโม พัดลมไฟฟ้า เครื่องถ้วยโถโอชาม ประเภทเซรามิก ฯลฯ หุ่นจำพวกนี้ แสงจะจัดเป็นจุดและแสงจะต้องขาวไม่ว่าหุ่นจะเป็นอะไรก็ตาม ที่ควรจำก็ คือ แสงจะขาวจัดเป็นจุดบนพื้นเข็ม
หุ่นผิวใส เช่นแก้วน้ำ ขวดใส กระจกกั้นห้อง ถุงพลาสติกใส่อาหาร ฯลฯ หุ่นจำพวกนี้จะต้องเขียนให้ใสมองทะลุถึงวัตถุที่อยู่ข้างหลังของหุ่น (อาจใช้ยางลบช่วยในการทำให้ขวดหรือหุ่นจะได้มันแวววาวยิ่งขึ้น) (แสง-เงา) 2539 : 10
1.3.3  แสงและเงา ทิศทางที่แสงตกกระทบหุ่น แสงมีหลายลักษณะ คือ
             - แสงสว่างที่สุด (Highlight) อยู่ในส่วนที่รับแสงโดยตรง           
 - แสงสว่าง (Light) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสง
             - เงา (Shadow) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก
             - เงามืด (Core of Shadow) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงเลย
             - แสงสะท้อน (Reflects Light) บริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนของแสงจากวัตถุใกล้เคียง
             - เงาตกทอด (Cast Shadow) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้น ๆ ตกทอดไปตามพื้นหรือตามวัตถุอื่นที่รองรับน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน




 
                                              ภาพที่ 3  ทิศทางที่แสดงตกกระทบหุ่น
                                          ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=173678
                                                        สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556

1.3.4  การจัดองค์ประกอบในงานวาดเขียน การจัดประกอบในงานวาดเขียน จิตรกรจะต้องคำนึงหลักขององค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น ดังนี้
- แสดงการจัดองค์ประกอบของภาพ ที่มีความเหมาะสมกับหน้ากระดาษ
- แสดงการจัดองค์ประกอบเรื่องเอกภาพ ที่แสดงความเป็นเอกภาพของ       
1.3.5  ส่วนประกอบของศิลปะ รูปทรง รูปร่าง
- แสดงการจัดองค์ประกอบเรื่องดุลยภาพ
- แสดงภาพดลุยแบบซ้ายขวาเหมือน
- แสดงดลุยภาพแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน
1.3.6  แสดงการจัดองค์ประกอบเรื่องเด่น
- ดลุยภาพไม่สมบรูณ์เพราะหนักด้านซ้ายมากเกินไป
- จุดเด่นไม่ชัดเจน
- จุดเด่นในภาพมีความเหมาะสม
- จุดเด่นชิดริมกรอบมากเกินไป
1.3.7  แสดงการจัดองค์ประกอบเรื่องการเน้น  ที่แสดงการเน้นด้วยศีรษะคนด้านหน้าเด่นชัดกว่ารูปทรงทรงอื่นๆทั้งหมด

สรุป
การวาดเส้น Drawing เป็นวิธีการถ่ายทอดธรรมชาติ หรือ วัตถุตรงหน้าให้เป็นผลงานศลิปะทอดถ่ายจินตนาการของผู้วาดให้เป็นจริง นับว่าวิธีการหนึ่งของการสร้างสรรค์งานทัศน์ศิลป์ อาจเป็นภาพร่างหรือภาพที่สำเร็จสมบูรณ์ ของศิลปินที่ต้องการบ่งบอก หรือ ที่เป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆในธรรมชาติ

2. ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดน้ำอัมวา
2.1 ประวัติ  อัมพวาสร้างเมื่อ ปี พ.. 2303 ตั้งอยู่ที่ตำบล บางช้าง อำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม มีนายตลาดเป็นผู้หญิง ชื่อว่า น้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก เป็นคนในตระกูลเศรษฐีในแขวงบางช้าง พายหลังสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อัมพวา








                                      ภาพที่ 4 บ้านเรือนเก่าๆ ตลาดน้ำอัมพวา 
        ที่มา: http://amphawa.sadoodta.com/travel.php?subaction=showfull&id=    1251149109
                                               สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556
 






                                         ภาพที่ 5 บ้านเรือนเก่าๆ ตลาดน้ำอัมพวา  
            ที่มา : http://amphawa.sadoodta.com/travel.php?subaction=showfull&id= 1251149109
                                                สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556


2.2 สถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำอัมพวา จะเป็นบรรยากาศที่ร่มรื่น เต็มไปด้วยบ้านเรื่อน เก่าๆ





            ภาพที่ 6  บรรยากาศของตลาดน้ำอัมพวา
                             ที่มา:  http://www.amphawatoday.com/product.htm
                                                  สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556



 






                ภาพที่  7  สถานที่ชมหิ่งห้อย ยามค่ำคืน                                      
        ที่มา: http://www.amphawatoday.com/product.htm
                                                    สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556



 


                                   
 

        ภาพที่  8   กิจกรรมยอดนิยม! ชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน
                                         ที่มา: http://www.restchic.com/?p=251
                                              สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556

สรุป 
ตลาดน้ำอัมพวา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของ จังหวัดสมุทรสงคราม บรรยากาศของที่นี่จะร่มรื่นไปด้วยสวนผสมริมน้ำ ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดน้ำยามเย็นต่างจากตลาดน้ำที่อื่นๆ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นหนึ่งเพราะอากาศในช่วงเย็นจะไม่ร้อนเท่าตอนกลางวัน นอกจากนี้อาหารการกกินที่นี่ยังมีให้เลือกมามาย
  
                                               บทที่ 3  
                                         
                                       วิธีการดำเนินงาน
                                                          
     การใช้เทคนิควาดเส้น Drawing ในการออกแบบภาพประกอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ ได้มีการศึกษาข้อมูลและวิธีปฏิบัติขั้นตอนเพื่อนำมาเป็นโปสการ์ดสถานที่ท่อง เที่ยวทางน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางเลือกสำหรับผู้ที่ชอบภาพแนว Drawing ที่ดูเป็นแบบธรรมชาติโดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
        
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน                                                                                             
 1. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ประเด็นการศึกษาบทบาทความสำคัญเทคนิคและทฤษฎีในการวาดเส้น Drawing ของ อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล มีแนวทางดังต่อไปนี้
1.1  การศึกษาเอกสาร เพื่อวิเคราะห์เทคนิควาดเส้น Drawing อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล หาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิลปิน เช่น ประวัติ ผลงานต่างๆ ของศิลปิน จากเว็บไซต์ เพื่อนำมาศึกษาและวิเคราะห์ เทคนิควาดเส้น Drawing ของศิลปิน
- หาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับศิลปิน เช่น ประวัติ ผลงานต่างๆของศิลปิน จากเว็บไซต์ เพื่อนำมาศึกษาและวิเคราะห์เทคนิควาดเส้น Drawing ของศิลปิน
-หาข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิควาดเส้น Drawing ของการเขียนภาพทิวทัศน์และหลักทัศนียภาพ จากหนังสือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลงานภาพประกอบต่างๆ ของศิลปินที่เป็นนักออกแบบภาพประกอบ มีประเด็นที่ใช้ศึกษาดังนี้
  
      1. เทคนิควาดเส้น Drawing
- ความหมายของการ Drawing
- ความสำคัญของการ Drawing
- ความเป็นมาของการ Drawing
- ประเภทของการ Drawing
             - ข้อสรุป
     2.  การเขียนภาพทิวทัศน์และทัศนียภาพ
      - ความหมายของทิวทัศน์
      - ความเป็นมาของภาพทิวทัศน์
      - วัตถุประสงค์ของภาพทิวทัศน์
      - ความสำคัญของภาพทิวทัศน์
      - รูปแบบของการวาดภาพทิวทัศน์
      - ประเภทของภาพวาดทิวทัศน์
      - ลักษณะของภาพทิวทัศน์ 
      - ข้อสรุป
     3. ศึกษาเทคนิค แสง เงา Drawing  ของศิลปิน อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล
- ประวัติ อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล
- ลักษณะผลงานของศิลปิน อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล
- ผลงานที่โดดเด่น 20 ชิ้น ของศิลปิน อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล
- ข้อสรุป
          3.1  การวิเคราะห์โดยใช้ดูผลงานที่โดดเด่น โดยคัดเลือกผลงานของนักออกแบบภาพประกอบ  อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล จำนวน 20 ภาพ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสร้างภาพประกอบด้วยการ การใช้เทคนิควาดเส้น Drawing
- เพื่อศึกษาผลงาน การใช้เทคนิควาดเส้น Drawing ของนักออกแบบภาพประกอบ อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล แล้ววิเคราะห์ออกมาทำเป็นภาพประกอบ เทคนิควาดเส้น Drawingภาพประกอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ
        1.3 การสรุป สังเคราะห์ วิเคราะห์ให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญเทคนิคและทฤษฎีในการวาดเส้น Drawing
3.2  เพื่อตอบวัตถุประสงค์ ที่  2  ประเด็นการศึกษาเนื้อหาและความสำคัญของโปสการ์ดต่างๆ มีแนวทางการศึกษาดังนี้
         3.2.1 การศึกษาเนื้อหาและความสำคัญของโปสการ์ดในรูปแบบต่างๆ
- ศึกษาโดยหาข้อมูลโปสการ์ดในรูปแบบ ต่างๆ ลักษณะโปสการ์ด และ ขนาด เป็นต้น แล้ววิเคราะห์ให้เห็นถึงความสำคัญของโปสการ์ด
           3.2.2  การสรุป สังเคราะห์  วิเคราะห์ให้เห็นถึงเนื้อหาและความสำคัญของโปสการ์ด สถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ อย่างเหมาะสมและสวยงาม
     3.3  เพื่อตอบวัตถุประสงค์ ที่ 3 ประเด็นการศึกษาการใช้เทคนิควาดเส้น Drawing ในการออกแบบภาพประกอบโปสการ์ด เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ
          3.3.1  นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา  การใช้เทคนิควาดเส้น Drawing ภาพประกอบของนักออกแบบภาพประกอบหนังสือ Drawing อาจารย์ เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล และข้อมูลของเนื้อหาและความสำคัญ ของหนังสือ เรื่อง แสง - เงา มาเป็นพื้นฐานในการดำเนินความคิดในการออกแบบ ภาพประกอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ
           3.3.2  การออกแบบภาพประกอบเทคนิควาดเส้น Drawing โปสการ์ดเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ชอบภาพแนว Drawing  
          3.3.3  การสรุป ผลการศึกษาและทำการออกแบบ  ภาพประกอบ Drawing สำหรับ ภาพประกอบโปสการ์ด เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ

                                              บทที่ 4 
                                  
                                   ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
         
          ในการวิเคราะห์ข้อมูลข้อการ ใช้เทคนิควาดเส้นในการออกแบบภาพประกอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำเพื่อ จัดทำเป็นโปสการ์ดตลาดน้ำอัมพวามีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยดังนี้

แนวทางตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อการศึกษาถึงเทคนิคและทฤษฎีในการวาดเส้น Drawing

1. ผลการศึกษาหลักการออกแบบ
1.1   นิยามหรือความหมายของ การวาดเส้น Drawing เป็นหลักพื้นฐานของการออกแบบทุกชนิด โดยที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้องบันทึกความรู้สึก จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ออกมาในลักษณะของผลงาน ที่เป็นรูปนามธรรมอย่างชัดเจน
1.2  บทบาทและความสำคัญของ การวาดเส้น Drawing   เป็นวิธีการถ่ายทอดธรรมชาติ ที่ผู้สร้างจะสื่อความต้องการที่มองเห็นเป็นรูปร่างของวัตถุ สิ่งของ ธรรมชาติต่างๆ ให้เกิดภาพมิติ
1.3  หลักการออกแบบ
                        1. ขั้นเตรียมการอุปกรณ์ให้พร้อมในการวาดภาพ 
                         2. ขั้นร่าง
                        3. ขั้นลงน้ำหนัก  
         1.4  แนวทางทางการประยุกต์ใช้กับการออกแบบ การใช้เทคนิควาดเส้นในการออกแบบภาพประกอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ

2.  แนวการการตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อการศึกษาข้อมูลแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำ    (อัมพวา)

2.1  ประวัติของตลาดน้ำอัมพวา
-  อัมพวาสร้างเมื่อ ปี พ..  2303 ตั้งอยู่ที่ตำบล บางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีนายตลาดเป็นผู้หญิง ชื่อว่า น้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก เป็นคนในตระกูลเศรษฐีในแขวงบางช้าง พายหลังสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อัมพวา

2.2. ข้อมูลสำคัญ
บรรยายสถานที่ โดยแยกให้เห็นสถานที่ วันเวลา สำคัญๆ ในเรื่อง เช่น
2.2.1  สถานที่ริมคลองตลาดน้ำอัมพวา กลางวัน และ ยามค่ำคืน
                มีลักษณะที่ปรากฏดังนี้ ตลาดน้ำอัมพวาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เดินชมวิถีชีวิตในชุมชนริมคลองที่เรียบง่าย บ้านเรือนเก่าแก่ และที่พลาดไม่ได้ การเลือกชิมอาหารพื้นบ้านทั้งคาวหวาน ที่มีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือมาขาย รวมถึงร้านบนบกที่เปิดติดๆ มีบรรยากาศที่ร่มรื่นเต็มไปบ้านเรือนการนั่งเรือชอบวิวของตลาดน้ำอัมพวาที่มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ มีทั้ง สวนผลไม้และแหล่งท่องเที่ยวอีกมายมาก

2.3 สถานที่จะวาดเป็นโปสการ์ดตลาดน้ำอัมพวา
2.3.1 สถานการณ์ที่ 1 เป็นบรรยากาศของตลาดน้ำอัมพวา และสถานที่เด่นๆ ของกินที่เด่นๆ ของอัมพวาและวิถีชีวิตของแม่ค้าในตลาดอัมพวา











                                         ภาพที่ 9 บรรยากาศของแม่ค้าพายเรือขายของ 
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kampong&month=22-06-2006&group=20&gblog=1
                                                    สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556





                                                                    




                                        ภาพที่ 10 ป้ายสถานที่ตลาดน้ำอัมพวา
                                         ที่มา : http://justcheeky.diaryclub.com/20081021
                                                  สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2556

                    
        3. ข้อมูลทางการตลาด

3.1 ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
จุดเด่น: บรรยากาศของตลาดน้ำดำเนินสะดวก ยังคงคึกคักและมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าพายเรือมาขายสินค้ากันมากมาย ซึ่งสินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผัก ผลไม้ตามฤดูกาล ก๋วยเตี๋ยว และอาหารการกินอื่นๆ หลายชนิด รวมถึงสินค้าที่ระลึกและงานหัตถกรรมแบบไทยๆ ด้วย เรียกว่าทั้งเรื่องเที่ยว เรื่องกิน เรื่องช๊อปปิ้งมีครบครันในตลาดแห่งเดียว
จุดด้อย: ถึงแม้ตลาดน้ำดำเนินสะดวกจะเปิดทุกวัน แต่ถ้าหากมาในช่วงวันธรรมดา เรือขายสินค้าก็อาจจะบางตาอยู่ซักหน่อย ดังนั้นแนะนำว่าถ้าสะดวกให้เลือกมาเที่ยวในช่วงสุดสัปดาห์น่าจะคึกคักและมี สีสันมากกว่า

3.2 ตลาดน้ำ อโยธยา
จุดเด่น: ของตลาด น้ำอโยธยาแห่งนี้คือ ร้านค้าแต่ละแห่งของที่ตลาดน้ำอโยธยาแห่งนี้จะนำชื่อของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาตั้งเป็นชื่อร้าน และ นำสินค้าที่มีชื่อเสียงของในอำเภอนั้นๆ มาขาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก และ ได้อุดหนุนสินค้าและผลิตภัณฑ์ในแต่ละอำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีบริการนั่งช้างลุยน้ำ เข้าป่า ชมนกป่าหลากหลายชนิดชมโบราณสถาน ไหว้พระวัดมเหยงคณ์ บริการนั่งเกวียนเทียมวัวชมโบราณสถาน  และการแสดงโชว์งูทุกวัน และป้ายกำแพงอันยักษ์ใหญ่ ที่บนกำแพงเขียน ว่าตลาดน้ำอโยธยา ที่ไม่ว่านักท่องเที่ยวคนไหนที่ได้ไปเที่ยวตลาด  น้ำอโธยาก็ต้องถ่ายเป็นที่ระลำ
จุดด้อย: ของตลาดน้ำอโธยาที่จอดรถของทาตลาดน้ำสามารถรองรับรถได้เพียง500คันเท่านั้น  ไม่มีรถโดยสารสาธารณะ เข้าถึงโดยตรง  ต้องลงต่อรถที่หน้าวัดมเหยงคณ์ เพื่อต่อรถ มอเตอร์ไซค์  หรือ ตุ๊ก ตุ๊ก  เข้าไปในตัวตลาดน้ำอโยธยา

ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัยเรื่อง ใช้เทคนิควาดเส้นในการออกแบบภาพประกอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ

ข้อมูลพื้นฐาน การ drawing โปสการ์ดตลาดน้ำอัมพวา  สื่อถึงการดำรงชีวิตตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน  เช่น การพายเรือขายของ และวิวบ้านเรือสมัยก่อนที่อยู่มายาวนานจนถึงสมัยปัจจุบัน
เพื่อที่นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวสามารถซื้อนำกลับมาเป็นของที่ระลึกได้
    
 วัตถุประสงค์
    นำไปใช้เป็นตัวแทนมีความประณีตละเอียดใกล้เคียงกับภาพถ่ายใช้สื่อเป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ

กลุ่มเป้าหมาย
     ด้านกายภาพ
ทุกเทศทุกวัย อายุตั้งแต่ 18-50 ปี ผู้ที่เป็นนักศึกษษผู้ที่ชื่นชอบในงานศลิปะ หรือด้านต่างๆที่ชื่นชมภาพในแนวงาน Drawing

ด้านจิตนภาพ Psychogarphics
            ผู้ที่ชื่นชอบผลงาน Drawing ที่มีความใกล้เคียงภาพถ่าย ที่เป็นแทนสื่อสารของผู้สร้างผลงานแบบธรรมชาติๆ

แนวความคิด

นำหลัก การเขขียนภาพ หรือ Drawing ซึ่งเป็นพื้นฐานของกานออกแบบในรูปแบบโปสการ์ดสื่อสารให้เข้าถึงคนที่สนใจและ ต่อยอดไปในรูปแบบอื่นๆอีกด้วย

เหุตผลสนับสนุน
        อุนรักษ์ความเป็นงานที่ความประณีตละเอียดใกล้เคียงกับภาพถ่ายใช้สื่อเป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ และความสวยงาม

อารมณ์ ความรู้สึก รูปแบบ
        โดดเด่น มีเอกลักษณ์ สะดุดตา มีความน่าสนใจ

แนวทางของภาพประกอบที่เป็นไปได้
         เป็นภาพ Drawing ที่ใช้แทนภาพภาพถ่ายความประณีตละเอียด และสื่อความหมายของธรรมชาติต่างๆ ที่ได้ผ่านมาและจดจำ แทนเป็นภาพวาด